สิ่งระลึกถึงพระพุทธเจ้าในปากีสถาน...

สิ่งระลึกถึงพระพุทธเจ้าในปากีสถาน...

ที่นี่... ปากีสถาน

ปากีสถานนั้นเคยเป็นส่วนหนึ่งของอินเดียมาก่อน แต่เมื่ออังกฤษมอบเอกราชให้กับอินเดีย ก็มีการตั้งประเทศปากีสถานขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1947 โดยที่ต้องขอกล่าวย้อนไปถึงเรื่องนี้เนื่องด้วย การสร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกนั้นได้เกิดขึ้นในดินแดนส่วนนี้ กล่าวคือในพื้นที่ของคันธาระ ซึ่งปัจจุบันนั้นตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของปากีสถานและบางส่วนในตะวันออกเฉียงใต้ของอัฟกานิสถาน

หลายท่านคงจะจำข่าวการระเบิดพระพุทธรูปขนาดใหญ่ของตาลีบันในอัฟกานิสถานได้ อันที่จริงบริเวณนั้น อยู่ห่างจากชายแดนระหว่างปากีสถานและอาฟกานิสถานเพียงนิดเดียวเท่านั้น สะท้อนให้เห็นว่าในสมัยโบราณพื้นที่แถบบริเวณดังกล่าวนั้นล้วนเต็มไปด้วยศรัทธาของชาวพุทธ

แรกเริ่มเดิมทีตั้งแต่สมัยพุทธกาลนั้นไม่มีการสร้างพระพุทธใดๆ แม้กระทั่งเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไปแล้วก็ยังไม่มีเช่นกัน ได้แต่นำสิ่งที่ระลึกต่างๆ มาเป็นตัวแทนของพระองค์อาทิ อัฐิ, ใบโพธิ์ เป็นต้น หลังจากยุคของพระองค์แล้ว พุทธศาสนากลับมารุ่งเรืองอีกครั้งเมื่อสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช (หลังยุคของพระพุทธเจ้าประมาณ 300 ปี)  ผู้ทำการเผยแพร่พุทธศาสนาไปกว้างไกลอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ในยุคนี้จะใช้สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์เพื่อระลึกพระพุทธเจ้า ที่พบกันมากก็คือ ธรรมจักรและกวางหมอบ ซึ่งเป็นตัวแทนของการแสดงปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้าที่ป่าอิสิปตนมฤคทานวัย เมืองพาราณสี หมายถึงกงล้อแห่งธรรมได้หมุนเวียนเรื่อยไปแล้ว ทว่าก็ยังไม่มีการสร้างพระพุทธรูปอีกเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบัน ก็คือรูปธรรมจักรที่อยู่ธงพื้นสีเหลือง อันเป็นธงแสดงเครื่องหมายของศาสนาพุทธนั่นเอง และนิยมสร้างรอยพระพุทธบาทอีกด้วย

สิ่งที่นิยมสร้างกันมาก่อนจะมีการสร้างพระพุทธรูปเพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้านั่นก็คือสถูปหรือเจดีย์ อันเป็นที่ระลึกถึงการจากไปของพระองค์ เนื่องด้วยในสมัยนั้น นิยมเก็บอัฐิไว้ใต้ฐานเจดีย์พร้อมกับสิ่งของมีค่าทั้งหลาย อันที่จริงค่านิยมฝังสิ่งมีค่าไว้ใต้ฐานเจดีย์ก็ยังมีมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ตามความเชื่อว่าเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา 

เราสามารถพบสถูปหรือเจดีย์โบราณมากมายทั่วบริเวณคันธาระ อาทิ ธรรมราชิกสถูป เมืองตักศิลา ซึ่งเป็น 1 ใน 6 แห่ง มรดกโลกทางวัฒนธรรมของยูเนสโกในปากีสถาน ซึ่งในบริเวณแถบนั้นก็ยังพบสถูปขนาดเล็กอีกมากมายกระจายอยู่โดยทั่ว

ทัวร์ปากีสถาน

หลังจากยุคของพระเจ้าอโศกมหาราชราว 200กว่าปี หรือราว พ.ศ. 500-550 จึงปรากฏการสร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรก โดยพระเจ้ามิลินท์ ที่คนไทยรู้จักกันดีในนามของมิลินทปัญหา นั่นเอง ซึ่งเป็นกษัตริย์ผู้มีเชื้อชายกรีก มีอำนาจปกครองบริเวณแคว้นคันธาระ มาถึงตรงนี้แล้วอาจจะขมวดคิ้วเล็กน้อยว่ากษัตริย์เชื้อสายกรีกมาถึงบริเวณนี้ได้อย่างไร ก็จ้องขอเล่าย้อนไปถึงการยกทัพมาถึงของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช กษัตริย์หนุ่มผู้เกรียงไกรที่สุดคนหนึ่งในโลก ชาวมาซิโดเนีย(ตั้งอยู่คะวันตกเฉียงเหนือของกรีซ) ซึ่งเคยยกทัพตีมาเรื่อยๆ จากแผ่นดินกรีซ จนมาถึงแคว้นคันธาระแห่งนี้ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าไม่เคยมีผู้ใดเคยทำได้อย่างที่พระองค์ทำมาก่อน แต่เมื่อมองจากแผนที่ในปัจจุบันแล้วก็ต้องถือว่าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชนั้น ไม่เคยไปถึงอินเดีย แต่มาหยุดอยู่ที่แคว้นคันธาระแห่งนี้ก่อนจะยกทัพกลับและเสียชีวิตระหว่างทางกลับบ้านนี่เอง

กลับมาที่กษัตริย์เชื้อสายกรีก พระเจ้ามิลินท์นั้นอยู่หลังยุคของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชอยู่ราว 300 กว่าปี แน่นอนว่าชาวกรีกบางส่วนได้ปกครองดินแดนแถบนี้ต่อมาด้วยในแคว้นแบคเตรียและภาคตะวันตกเฉียงเหนือของแคว้นคันธาระ แม้จะพ่ายแพ้ต่อกษัตริย์แห่งราชวงศ์โมริยะในภายหลัง แต่อิทธิพลของวัฒนธรรมแบบกรีกก็ยังกระจายทั่วบริเวณนี้

พระเจ้ามิลินท์จึงเรียกได้ว่าเป็นลูกหลานของกองทัพแห่งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชนั่นเอง อันที่จริงหากท่านมีโอกาสไปเยือนบริเวณแถบแคว้นคันธาระนั้นจะพบว่ามีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่หน้าตาไม่เหมือนคนเอเชีย อาทิ มีดวงตาสีอ่อน เช่นสีฟ้า สีน้ำข้าว มีเส้นผมสีดำที่ไม่ดำสนิทและมีผิวขาวจัด ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะพบได้ทั่วไปที่นี่ หนังสือมิลินทปัญหา ได้เล่าถึงการสนทนาธรรมในข้อต่างๆ ระหว่างพระเจ้ามิลินท์ หรือพระเจ้าเมนันเดอร์ ที่ 1 แห่งแบ็กเตรีย กับพระนาคเสน ซึ่งเป็นพระในพุทธศาสนา

พระพุทธรูปยุคแรกๆ นั้นมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 5-6 หรือประมาณ 1,500 ปีมาแล้ว มีลักษณะเด่นอย่างมาก ตรงที่มีหน้าตาแบบฝรั่ง มีผมยาวหยักศก และมีการประทับนั่งบนบัลลังก์คล้ายกับเทพเจ้าซูสของกรีก ส่วนพระพักตร์ก็คล้ายเทพอพอลโลของกรีกอีกเช่นกัน

ในพิพิธภัณธ์สถานแห่งเมืองลาฮอร์นั้นมีชื่อเสียงอย่างมากเรื่องพระพุทธรูปสมัยแรกเริ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือพระพุทธรูปางบำเพ็ญทุกขรกริยา ซึ่งค้นพบในเขตคันธาระ มีขนาดสูงเพียง 33 นิ้ว ทว่ามีความงดงามอย่างเป็นเอกลักษณ์ ทำจากหินสีเทา ซึ่งพบมากในบริเวณนี้ พระพุทธรูปอยู่ในท่านั่งขัดสมาธิเพชร ประสานพระหัตถ์ไว้ในท่าสมาธิ พระวรกายซูบผอมจนเห็นถึงพระผาสุกะ หรือซี่โครงภายในผิวหนังห่อหุ้ม แม้แต่จีวรก็บางจนแนบไปกับพระวรกาย เผยให้เห็นถึงความตึงเกินไปในการบำเพ็ญเพียร และสะท้อนว่าช่างในสมัยนั้นมีความรู้ด้านสรีระวิทยาเป็นอย่างดี

นอกจากพระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยา แล้ว ในสมัยนั้นยังนิยมสร้างรูปพระพุทธเจ้าในเวอร์ชั่นของเจ้าชายสิทธัตถะ ก่อนที่จะออกผนวช ซึ่งแสดงวรกายของชายหนุ่มสวมเครื่องทรงเยี่ยงกษัตริย์เต็มยศ สวมเครื่องประดับมากมาย ทั้งพระกุณทล สร้อยพระศอฯลฯ ทว่าพระเกศาหยักศก ยังไม่เป็นทรงก้นหอย แถมยังนุ่งห่มด้วยผ้าขนาดยาวที่แสดงริ้วสวยงามตลอดทั้งผืน ลักษณะเดียวกันกับที่ชาวกรีกและโรมันนิยมใช้ ไม่เพียงแต่พระพุทธรูปของพระพุทธเจ้าหรือจเชายสิทธัตถะเท่านั้น พุทธศาสนามหายานก็เฟื่องฟูไม่น้อยในดินแดนแห่งนี้ มีการสร้างพระโพธิสัตย์อาริยเมตไตรกันอย่างแพร่หลาย 

อีกแห่งหนึ่งจะขาดไปไม่ได้เลยนั่นก็คือสำนักสงฆ์ตาขท์อีไภ ซึ่งได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกของยูเนสโกเมื่อปี 1980 ซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนมหาวิทยาลัยของพระสงค์เพื่อศึกษาด้านศาสนาโดยเฉพาะ สร้างขึ้นเมื่อราว 1900 มาแล้ว และมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องยาวนานถึงราว 700 ปี ก่อนจะถูกทำลายลงด้วยการรุกรานของชาวมุสลิมในภายหลัง

ทัวร์ปากีสถาน

โบราณสถานแห่งนี้มีขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนภูเขาที่มีความสูงประมาณ 150 เมตร ตั้งอยู่ใกล้เทือกเขาฮินดูกูชประกอบไปด้วยที่พักและที่สำหรับศึกษาเล่าเรียนจำนวนมาก ตรงใจกลางของโบราณสถานแห่งนี้คือองค์สถูปขนาดใหญ่กลางลานกว้าง รายล้อมด้วยสถูปขนาดรองมากมาย แม้ว่าพระพุทธรูปที่เคยประดิษฐานที่แห่งนี้จะถูกทำลายไปตามกาลเวลา หรือแม้แต่สูญหายและมีบางส่วนถูกย้ายไปตั้งอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์ลอนดอนแล้วก็ตาม แต่ที่นี่ก็ยังทรงคุณค่าในแง่ของความสสำคัญในการเป็นเสมือนมหาวิทยาลัยเพื่อศึกษาด้านพุทธศาสนาโดยเฉพาะ

ทั่วทั้งปากีสถานนั้นมีแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก ทั้งหมด 6 แห่งด้วยกัน และ 2 แห่งในนั้นก็คือเมืองโบราณของพุทธศาสนา หากท่านเป็นผู้ที่สนใจในด้านประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพุทธศาสนาด้วยแล้ว แม้ว่าปากีสถานในปัจจุบันจะเป็นประเทศมุสลิมก็ตาม แต่เราแนะนำไม่ให้ท่านพลาดการมาเยือนปากีสถานด้วยประการทั้งปวง เนื่องด้วยยังมีทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องด้วยพุทธศาสนาจำนวนมากที่รอให้ท่านมาเยี่ยมชม 

เมื่อครั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จเยือนอินเดีย สมเด็จกรมพระยาดำรง (บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย)ตามเสด็จด้วย ท่านต้องใจกับพระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกขกิริยาอย่างมาก จนได้ปรึกษากับเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ของอินเดีย เพื่อลอกแบบพระพุทธรูปองค์นี้มาจำลองไว้ ซึ่งปัจจุบันท่านสามารถเข้าชมพระพุทธรูปจำลององค์นี้ได้ที่ระเบียงคด วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร

by TL NOK

 

ทัวร์แนะนำ ทัวร์ปากีสถาน https://www.planetworldwide.com/Northern-Pakistan-Tour-984.html

ค้นหา : ทัวร์ปากีสถาน เที่ยวปากีสถาน ทะเลสาบอัตตาบัต ทัวร์เอเชีย



^
TOP